16 กันยายน 2552
14 มิถุนายน 2552
Hydrocarbon
ความหมาย คือสารประกอบทางเคมีที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) และไฮโดรเจน (hydrogen) ไฮโดรคาร์บอนทุกตัวจะมีแกนกลางคาร์บอนโดยมีอะตอมไฮโดรเจนเกาะอยู่รอบๆ ไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ประเภท 1. แบ่งตามชนิดของพันธะในโมเลกุล มี 2 ประเภท คือ
1.1 ไฮโดรคาร์บอนชนิดอิ่มตัว ( Saturated Hydrocarbon )
คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ในโมเลกุลประกอบด้วยพันธะเดี่ยว ทั้งหมด ได้แก่ แอลเคน และไซโคลแอลเคน
1.2 ไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ( Unsaturated Hydrocarbon )
คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ในโมเลกุลนอกจากมีด้วยพันธะเดี่ยว เป็นหลักแล้ว ยังมีพันธะคู่หรือพันธะสามเป็นองค์ประกอบอยู่อย่างน้อย อีก 1 พันธะ ได้แก่ แอลคีน ไซโคลแอลคีน แอลไคน์ ไซโคลแอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
2. แบ่งตามโครงสร้างของโมเลกุล มี 3 ประเภท คือ
2.1 อะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน ( Aliphatic Hydrocarbon ) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่เปิด
โครงสร้างแบบโซ่เปิด
- โซ่ตรง = C อะตอมจะต่อกันเป็นโซ่ยาวหรือโซ่ตรง
- โซ่กิ่ง = C อะตอมบางอะตอมจะแยกออกจาก โซ่ยาวมาเป็นกิ่ง ได้แก่ แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน (alkane)
แอลเคน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน (parafin hydrocarbon) หรือเรียกสั้นๆ ว่า พาราฟิน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n + 2 เมื่อ n = 1, 2, 3, … เช่น
ถ้า n = 1 จะได้ CH4
ถ้า n = 2 จะได้ C2H6
ถ้า n = 3 จะได้ C3H8 ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าเมื่อ C เพิ่ม 1 อะตอม H จะเพิ่ม 2 อะตอม หรือเพิ่มครั้งละ - CH2
แอลเคนมีทั้งที่เกิดในธรรมชาติ เช่นน้ำมันดิบ (coal tar) น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้
ตัวแรกของอนุกรมแอลเคนคือ มีเทน มีสูตรเป็น CH4
รูปร่างโมเลกุลของแอลเคนเป็นทรงเหลี่ยมสี่หน้า มีมุมระหว่างพันธะ 109.5 องศา
แอลคีน (alkene)
แอลคีน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว ในโมเลกุลจะมีพันธะคู่อยู่ 1 แห่ง ซึ่งทำให้มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n เมื่อ n = 2, 3, ……
แอลคีนมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า olefin ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า oleum + ficare โดยที่ oleum หมายถึง oil และ ficare หมายถึง to make ดังนั้นแอลคีนหรือ olefin จึงหมายถึงสารที่ทำให้เกิดน้ำมันได้
จากสูตรทั่วไปของแอลคีน คือ CnH2n จะเห็นได้ว่าแอลคีนที่มีคาร์บอนเท่ากับแอลเคน (CnH2n+2) จะมีไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลเคน 2 อะตอม สารประกอบตัวแรกของแอลคีนเริ่มต้นจาก n = 2 หรือเริ่มจากคาร์บอน 2 อะตอมคือ C2H4 เรียกว่า เอทิลีนหรือ อีทีน (ethene)
แอลคีนเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว อัตราส่วนระหว่าง C:H มากกว่าของแอลเคน และมีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากกว่าแอลเคน
แอลคีนโมเลกุลเล็กๆ จะมีรุปร่างที่เป็นลักษณะแบบเบนราบอยู่บนระนาบเดียวกัน มุมระหว่างพันธะประมาณ 120 องศา เช่น C2H4 และ C3H6
โพลิอีน (polyenes)
โพลิอีน หมายถึง แอลคีนที่มีพันธะคู่มากกว่า 1 แห่งในโมเลกุล เช่นถ้ามี 2 แห่ง เรียกว่า ไดอีน (dienes) ถ้ามี 3 แห่ง เรียกว่า ไตรอีน (trienes) เป็นต้น
พวกโครงสร้างโพลิอีนมักจะพบอยู่ในสารประกอบโมเลกุลใหญ่ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ในคาโรตีน (carotene , C40H56)
ตัวอย่างของไดอีน เช่น
CH2 = CH - CH = CH2 1,3 - butadiene
CH2 = CH - CH2 - CH2 - CH = CH2 1,5 - hexadiene
ตัวอย่างไตรอีน
CH2 = CH - CH2 = CH2 - CH = CH2 1, 3, 5 - hexadiene
แอลไคน์ (alkyne)
แอลไคน์ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวเหมือนแอลคีน ในโมเลกุลของแอลไคน์จะต้องมีพันธะสามระหว่าง C กับ C (C C)
ถ้ามีพันธะสาม 1 แห่ง จะมีสูตรทั่วไปเป็น
CnH2n - 2 เมื่อ n = 2, 3, ….
เช่น
n = 2 คือ C2H2
n = 3 คือ C3H4
n = 4 คือ C4H6 เป็นต้น
เมื่อมีคาร์บอนเท่ากันแอลไคน์จะมีไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลคีน 2 อะตอมและน้อยกว่าแอลเคน 4 อะตอม เช่น C2H2 , C2H4 , C2H6 ซึ่งเป็นแอลไคน์ แอลคีนและแอลเคน ตามลำดับ
อัตราส่วนระหว่าง C : H ในแอลไคน์มากกว่าในแอลคีนและแอลเคน เมื่อเผาไฟแอลไคน์จึงทำให้เกิดเขม่ามากกว่าแอลคีน (แอลเคนไม่เกิดเขม่า)
สารตัวแรกในอนุกรมแอลไคน์ คือ C2H2 เรียกว่าอะเซติลีน (acetylene) หรือ อีไทน์ (ethyne) ลักษณะโมเลกุลเป็นเส้นตรงอยู่ในระนาบเดียวกันมุมระหว่างพันธะ 180 องศา
2.2 อะลิไซคลิกไฮโดรคาร์บอน ( Alicyclic Hydrocarbon ) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่ปิด หรือเป็นวง อาจจะเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือห้าเหลี่ยมก็ได้
ได้แก่ ไซโคลแอลเคน ไซโคลแอลคีน ไซโคลแอลไคน์
ไซโคลแอลเคน (Cycloalkane)
ไซโคลแอลเคน เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวง พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนยึดเหี่ยวด้วยพันธะเดี่ยว เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวเช่นเดียวกับแอลเคน มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n โดยประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 3 อะตอมขึ้นไป
ไซโคลแอลคีน (Cycloalkene)
ไซโคลแอลคีน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทไม่อิ่มตัว โดยมีสมบัติคล้ายกับแอลคีน มีสูตรทั่วไป CnH2n–2 มีพันธะคู่อยู่ 1 พันธะ จำนวนอะตอมไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลคีน 2 อะตอม การเรียกชื่อให้ใช้ว่า “ไซโคล” นำหน้าชื่อของแอลคีน
2.3 อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ( Aromatic Hydrocarbon ) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวน เบนซีน : C6H6 เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เบนซีน และอนุพันธ์ของเบนซีน
อะโรมาติกไฮโครคาร์บอน (aromatic hydrocarbon)
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวประเภทหนึ่ง มีโครงสร้างหลักเป็นวงเบนซีน (benzene ring)
ภายในวงเบนซีน จะมีคาร์บอน 6 อะตอมต่อกันเป็นวง โดยมีพันธะเดี่ยวและพันธะคู่สลับกันไป
อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนตัวแรกคือ เบนซีน (benzene) ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C6H6 และมีสูตรโครงสร้างดังนี้
H ในเบนซีนอาจจะถูกแทนที่ด้วยอะตอมหรือหมู่อะตอมเพียง 1 หมู่ หรือมากกว่า 1 หมู่ก็ได้ถ้าถูกแทนที่ด้วยหมู่แอลคิลจะยังคงเป็นอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน แต่ถ้าถูกแทนที่ด้วยหมู่ฟังก์ชันอื่นๆ เช่น - Cl, - OH, -NH2 จะกลายเป็นอนุพันธ์ของอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
สมบัติทางกายภาพ
แอลเคน
1.เป็นสารประกอบที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น ดังนั้นเมื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจึงต้องใส่สารที่มีกลิ่นไปด้วยเช่น butyl mercaptan เพื่อเป็นตัวบอกให้ทราบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่
2.พวกโมเลกุลเล็กๆ ประมาณจำนวนคาร์บอน 1 -4 อะตอมจะเป็นก๊าซ จำนวนคาร์บอน 5-17 อะตอมจะเป็นของเหลวและากกว่า 17 อะตอมจะเป็นของแข็ง
3.เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ชนิดไม่มีขั้วจึงไม่ละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น น้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายท่ำม่มีขั้ว เช่น เบนซีน โทลูอีน
4.ไม่นำไฟฟ้าในทุกสถานะ
5.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวค่นข้างต่ำ เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงมีแรงระหว่างโมเลกุลเพียงชนิดเดียว คือแรงแวนเดอร์วาลส์ ซึ่งเป็นแรงที่อ่อน ดังนั้นจุดเดือดจึงค่อนข้างต่ำ แต่จุดเดือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้จุดเดือดสูงขึ้น
6.สำหรับแอลเคนที่เป็นไอโซเมอร์กัน ชนิดที่เป็นโซ่ตรงจะมีจุดเดือดสูงกว่าชนิดที่เป็นโซ่กิ่ง เนื่องจากชนิดที่เป็นโซ่ตรงมีพื้นที่ผิวของโมเลกุลซึ่งจะก่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าชนิดที่เป็นโซ่กิ่ง ยิ่งมีสาขามากเท่าใดจะยิ่งมีจุดเดือดต่ำลงเท่านั้น
7.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ความหนาแน่นมากที่สุดประมาณ 0.8 g/cm3 ดังนั้นแอลเคนจึงลอยน้ำ แอลเคนที่มีโครงสร้างในลักษณะเดียวกัน เมื่อ C ในโมเลกุลเพิ่มขึ้นความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้น
8.ติดไฟง่ายและไม่มีเขม่า
แอลคีน
1.แอลคีนโมเลกุลเล็กๆ (มี C 2-4 อะตอม) จะเป็นก๊าซ เมื่อขนาดโมเลกุลใหญ่ขึ้น (มีจำนวนคาร์บอนมากขึ้นเป็น 5 - 18 อะตอม) จะเป็นของเหลว และถ้าขนาดใหญ่กว่านี้จะเป็นของแข็ง
2.เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว จึงไม่ละลายในตัวทำละลายมีขั้ว เช่น น้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้วเช่น เบนซีน โทลูอีน
3.ไม่นำไฟฟ้าในทุกสถานะ
4.มีกลิ่นเฉพาะตัว เช่น C2H4 เมื่อดมมากๆ อาจสลบได้
5.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ (ความหนาแน่นสูงสุดไม่เกิน 0.8 g/cm3) เมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 10.15)
6.จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเพียงชนิดเดียวคือ แรงลอนดอน
เมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้นหรือเมื่อจำนวนอะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้น จุดเดือดจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ แรงลอนดอนเพิ่มขึ้น
7.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของแอลคีนที่มีคาร์บอนเท่ากับแอลเคนและมีโครงสร้างเหมือนกันจะต่ำกว่าของแอลเคน เช่น มีคาร์บอน 2 อะตอม แอลเคน CH3 - CH3 จุดเดือด -86.6 0C
แอลคีน CH3 = CH3 จุดเดือด -103.7 0C
มีคาร์บอน 3 อะตอม แอลเคน CH3 - CH2 - CH3 จุดเดือด -42.1 0C
แอลคีน CH3 = CH - CH3 จุดเดือด -47.7 0C
แอลไคน์
1.เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
2.แอลไคน์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กๆ เป็นก๊าซมีกลิ่นเฉพาะตัว ไม่มีสี
3.ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เช่น เบนซีน โทลูอีน
4.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
5.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย สำหรับแอลไคน์ที่คาร์บอนต่อกันเป็นสายยาว จุดเดือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น
6.จุดเดือดของแอลไคน์สูงกว่าของแอลคีนและแอลเคนที่มีคาร์บอนเท่ากัน และมีโครงสร้างลักษณะเดียวกัน โดยมีลำดับจุดเดือดเป็นดังนี้
จุดเดือด : แอลไคน์ > แอลเคน > แอลคีน
ไฮโดรคาร์บอนแบบวง
คล้ายกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่เปิด เช่น เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว ไม่ละลายน้ำ ไม่มีสี ไม่นำไฟฟ้า มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทำให้ลอยน้ำได้ ละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ ติดไฟได้ง่ายพวกที่อิ่มตัวจะไม่เกิดเขม่า พวกไม่อิ่มตัวจะเกิดเขม่า
สมบัติทางเคมี
แอลเคน
1. การเผาไหม้ สารประกอบแอลเคนสามารถลุกไหม้ดีดี ไม่มีเขม่าและควัน เมื่อเทียบกับไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเท่ากัน เช่น
2 C4H10(g) + 13 O2(g) --> 8 CO2(g) + 10 H2O(g)
2 C6H14(g) + 19 O2(g) --> 12 CO2(g) + 14 H2O(g)
2. ปฏิกิริยาแทนที่ แอลเคนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว ซึ่งหมายถึงมีพันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว สามารถเกิดปฏิกิริยากับเฮโลเจน (halogen : F , Cl , Br , I) ได้ในที่มีแสงสว่าง โดยเกิดปฏิกิริยาแทนที่ (substitution reaction) โดยอะตอมของเฮโลเจนจะแทนที่อะตอมของไฮโดรเจน 1 อะตอม ไฮโดรเจนที่ถูกแทนที่จะรวมกับเฮโลเจนเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจนเฮไลด์ (HX เมื่อ X แทนธาตุเฮโลเจน F , Cl , Br , I) ซึ่งเป็นแก๊สที่มีสมบัติเป็นกรด
*ปฏิกิริยากับสารละลายโบรมีน เรียกว่าโบรมีเนชัน (Bromination) จัดเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญของแอลเคน เพราะใช้ทดสอบแอลเคนได้ ถ้าฟอกจางสีโบรมีนได้ในที่สว่าง แสดงว่าเป็นแอลเคน
ไซโคลแอลเคน
ไซโคลแอลเคน เป็นไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว มีแนวโน้มของจุดหลอมเหลวและจุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนเช่นเดียวกับแอลเคนโซ่ตรง
การเกิดปฏิกิริยา คล้ายกับแอลเคนโซ่ตรง คือเกิดปฏิกิริยาแทนที่กับเฮโลเจนในที่มีแสงสว่าง ติดไฟได้ดีไม่มีเขม่าและควัน
แอลคีน
1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ แอลคีนติดไฟได้ง่าย เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนที่บรรยากาศปกติจะเกิดเขม่าหรือมีควัน แต่ถ้าผาในบริเวณที่มีแก๊สออกซิเจนจำนวนมากเกินพอ จะเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์ ไม่มีเขม่า ได้ CO2 และ H2O ตัวอย่างปฏิกิริยา เช่น
C2H4(g) + 3 O2(g) --> 2 CO2(g) + 2 H2O(g)
2 C3H6(g) + 9 O2(g) --> 6 CO2(g) + 6 H2O(g)
2. ปฏิกิริยารวมตัวหรือปฏิกิริยาการเติม (Addition reaction) แอลคีสามารถเกิดปฏิกิริยาการเติมได้ง่ายตรงบริเวณพันธะคู่ ปฏิกิริยานี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน บางปฏิกิริยาไม่ต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา แต่บางปฏิกิริยาต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้ดี มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยามากกว่าแอลเคน
1) ปฏิกิริยาการเติมเฮโลเจน (Addition of Halogen) เป็นปฏิกิริยาการเติมที่ Cl2 หรือ Br2 สามารถรวมตัวโดยตรงกับแอลคีนตรงพันธะคู่โดยไม่ต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา หรือไม่ต้องใช้แสงสว่าง ถ้ารวมกับ Cl2 เรียกว่า Chlorination ถ้ารวมกับ Br2 เรียกว่า Bromination ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะไม่มีแก๊สไฮโดรเจนเฮไลด์ (Hydrogen halide : HX) เกิดขึ้น ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญของแอลคีน โดยเฉพาะปฏิกิริยา Bromination เนื่องจากสามารถใช้บอกความแตกต่างระหว่างแอลคีนกับแอลเคนได้ โดยทั่วไปใช้สารละลาย Br2 ใน CCl4 (Br2/CCl4)
แอลเคน จะไม่ทำปฏิกิริยาฟอกจางสีของ Br2/CCl4 ได้ต่อเมื่อไม่มีแสงสว่าง เมื่อเกิดปฏิกิริยาจะได้ฟองแก๊ส HBr ซึ่งแสดงสมบัติเป็นกรดต่อลิตมัส
แอลคีน จะทำปฏิกิริยาฟอกจางสีของของ Br2/CCl4 ทั้งในที่มืดและที่สว่าง โดยไม่มีฟองแก๊สของ HBr เกิดขึ้น
2) ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (Addition of Hydrogen) เป็นปฏิกิริยาการเติม Br2 หรือเรียกว่า hydrogenation แอลคีนจะรวมตัวกับ H2 ได้เป็นแอลเคน โดยมี Pt , Ni หรือ Pd เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
3. Hydroxylation หรือ Glycol formation แอลคีนสามารถฟอกจางสีหรือทำปฏิกิริยากับสารละลาย KMnO4 ในสารละลายกรด ได้ผลิตภัณฑ์เป็นไกลคอล (glycol) และมีตะกอนสีน้ำตาลดำของแมงกานีส (IV) ออกไซด์เกิดขึ้น ไกลคอลเป็นสารประกอบประเภทแอลกอฮอล์ที่มีหมู่ –OH เกาะอยู่กับ C 2 อะตอมติดกัน
ไซโคลแอลคีน
ไซโคลแอลคีน มีสมบัติต่าง ๆ คล้ายกับแอลคีน เช่น การลุกไหม้ การดกิดปฏิกิริยาแบบเติมหรือรวมตัวกับเฮโลเจน เช่น ฟอกจางสีโบรมีน เกิดปฏิกิริยากับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมลกาเนต
แอลไคน์
1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (Combusion) การเผาไหม้ในบรรยากาศปกติ หรือมีออกซิเจนน้อยจะให้เขม่ามากกว่าแอลคีน แต่ถ้าเผาในบริเวณที่มีออกซิเจนมากจะไม่มีเขม่า เมื่อเกิดปฏิกิริยาจะได้แก๊ส CO2 และ H2O
2. ปฏิกิริยาการเติม (Addition reaction) แอลไคน์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว จึงเกิดปฏิกิริยาการเติมเฮโลเจน
1) ปฏิกิริยาการเติมเฮโลเจน แอลไคน์ฟอกจางสีสารละลายโบรมีนได้ โดยไม่ต้องใช้ตัวเร่ง ปฏิกิริยาหรือแสงสว่าง
2) ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน หรือ hydrogenation แอลไคน์สามารถเกิดปฏิกิริยากับไฮโดรเจนโดยมี Pt , Ni , Pd เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้แอลคีนและแอลเคนตามลำดับ
3. ปฏิกิริยาฟอกจางสี KMnO4 ปฏิกิริยาระหว่างแอลไคน์กับ KMnO4 พบว่าในโมเลกุลที่มีตำแหน่งของพันธะสามต่างกันผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจะต่างกันด้วย โดยแอลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ที่อะตอมของ C ตำแหน่งที่ 1 เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะได้ ผลิตภัณฑ์เป็นกรดอินทรีย์ CO2 MnO2 และ KOH
อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนติดไฟให้เขม่าและควันมาก ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำดังสมการ
2 C6H6(l) + 15 O2(g) -->12 CO2(g) + 6 H2O(g)
2. ปฏิกิริยาแทนที่
1) ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยเฮโลเจน (Halogenation) เบนซีนจะทำปฏิกิริยากับ Cl2 หรือ Br2 โดยมีผงเหล็กหรือ FeCl3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดปฏิกิริยาแทนที่ได้แก๊สไฮโดรเจนเฮไลด์
2) ปฏิกิริยาซัลโฟเนชัน (Sulfonation) ทำปฏิกิริยากับ H2SO4 เข้มข้น
การเรียกชื่อ
การเรียกชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. การเรียกชื่อสามัญ (Common name) ใช้เรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ๆ และโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน เช่น กรดฟอร์มิก (HCOOH) กรดแอซีติก (CH3COOH) ซึ่งการเรียกชื่อสามัญจะตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดของสารประกอบ หรือตามชื่อของผู้ค้นพบ เมื่อการค้นพบสารประกอบอินทรีย์มากขึ้นเรื่อย ๆ การเรียกชื่อสาทัญอาจทำให้เกิดความสับสน
2. การเรียกชื่อระบบ IUPAC เป็นระบบการเรียกชื่อสารประกอบที่นักเคมีได้จัดระบบขึ้นในปี พ.ศ.2237 (ค.ศ.1892) เรียกระบบนี้ว่า International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC จะเรียกตามจำนวนอะตอมโดยใช้จำนวนนับในภาษากรีก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 โครงสร้างหลัก ส่วนที่ 2 คำลงท้าย ส่วน 3 คำนำหน้า
1) โครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายยาวที่สุด โดยกำหนดการเรียกชื่อดังนี้
อะตอม C ชื่อภาษาไทย ชื่ออังกฤษ
1 ...........มีท meth–
2 ...........อีทหรือเอท eth–
3............โพรพ prop–
4 ...........บิวท but–
5 ...........เพนท pent–
6 ...........เฮกซ hex–
7 ...........เฮปท hept–
8 ...........ออกท oct–
9 ...........โนน non–
10 .........เดกค dec–
2) คำลงท้าย เป็นส่วนที่เติมท้ายชื่อของโครงสร้างหลักเพื่อแสดงว่าสารประกอบอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชัน เช่น alkane ลงท้ายด้วย –ane หรือ alcohol ลงท้ายด้วย –ol เป็นต้น
3) คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก จะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอม หรือกลุ่มอะตอมใดมาเกาะบ้าง กี่หมู่ และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาเกาะให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด
แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/ เข้าถึง ณ วันที่ 14/06/09
http://www.lks.ac.th/ เข้าถึง ณ วันที่ 14/06/09
http://www.promma.ac.th/ เข้าถึง ณ วันที่ 14/06/09
http://www.student.chula.ac.th/ เข้าถึง ณ วันที่ 14/06/09